แบบฝึกหัด
บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ กลุ่มเรียน 1
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008
1. ตอบ เป็นระบบรักษาความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์แบบหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software โดยหน้าที่หลัก
ๆ ของ Firewall นั้น จะทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานระหว่าง Network
ต่าง ๆ (Access Control) โดย Firewall จะเป็นคนที่กำหนด
ว่า ใคร (Source) , ไปที่ไหน (Destination) , ด้วยบริการอะไร
(Service/Port
ถ้าเปรียบให้ง่ายกว่านั้น
นึกถึง พนักงานรักษาความปลอดภัย หรือ ที่เราเรียกกันติดปากว่า
"ยาม" Firewall ก็มี หน้าที่เหมือนกัน "ยาม"
เหมือนกัน ซึ่ง "ยาม"
จะคอยตรวจบัตร เมื่อมีคนเข้ามา ซึ่งคนที่มีบัตร "ยาม" ก็คือว่ามี
"สิทธิ์" (Authorized) ก็สามารถเข้ามาได้
ซึ่งอาจจะมีการกำหนดว่า คน ๆ นั้น สามารถไปที่ชั้นไหนบ้าง (Desitnation) ถ้าคนที่ไม่มีบัตร ก็ถือว่า
เป็นคนที่ไม่มีสิทธิ์ (Unauthorized) ก็ไม่สามารถเข้าตึกได้ หรือว่ามีบัตร
แต่ไม่มีสิทธิ์ไปชั้นนั้น ก็ไม่สามารถผ่านไปได้
2. ตอบ ไวรัส
Worm อ่านว่า "วอร์ม"
มีการเรียกเป็นภาษาไทยว่า "หนอนอินเตอร์เน็ต"
เป็นไวรัสประเภทหนึ่งที่ก่อกวน สามารถ ทำสำเนาตัวเอง (copy) และแพร่กระจายไปยังเครื่องคอมฯ
เครื่องอื่นๆ ได้ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่วนตัว
และในระบบเครือ ข่ายเสียหายมานักต่อนักแล้ว ไวรัส วอร์ม นี้ปัจจุบันมีหลากหลายมาก
มีการแพร่กระจายของไวรัสได้รวดเร็วมาก ทั้งนี้เนื่องจากไวรัส วอร์ม
จะสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ
Microsoft Outlook
การป้องกันอย่างหนึ่งสำหรับไวรัสประเภทนี้ คือ
การ update โปรแกรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ดังรายละเอียดด้านล่างนี้
ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง
เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้
ไม่สามารถติดต่อระบบเครือข่ายได้
ไม่สามารถทำงานในระบบอินเตอร์เน็ตได้
Internet Explorer
Update to Internet Explorer 5.01
SP2
Update to IE 5.5 SP2
Update to IE 6.0
ตัวอย่างชื่อไวรัส
WORM_KLEZ.H
WORM_YAHA.K
WORM_OPASERV.E
WORM_KWBOT.C
WORM_FRETHEM.M
นอกจากนี้เรายังวิธีการป้องกันเบื้องต้นก็คือ
การติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบไวรัส แบบ Realtime หมายถึงตรวจสอบอีเมล์ทุกครั้งที่เข้ามา
ตรวจสอบเว็บไซท์ที่มีการแวะเวียนเข้าไป แบบอัตโนมัติ เป็นต้น และที่สำคัญ
ควรหลีกเลี่ยงการเปิดเมล์ที่เราไม่รู้จัก หรือไม่แน่ใจ
3. ตอบ เราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมาได้
6ประเภท ดังนี้
1. บูตเซกเตอร์ไวรัส
(Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัส
ที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์
การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงาน
ขึ้นมาครั้งแรก
เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ
ไว้ใช้ในการเรียก
ระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน
2. โปรแกรมไวรัส
(Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง
ที่จะติดอยู่กับโปรแกรม
ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้
คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส
ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไ
ปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ
เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ
ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที
เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ
เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ
ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที
แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป
3. ม้าโทรจัน
(Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโ
ปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน
แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที
ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด
โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง
เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ
ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง
เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส
เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการ
เข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง
แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี
ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโป รแกรมที่มีความอันตรายสูง
เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย
ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้
5. สทิลต์ไวรัส
(Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อกา
รตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม
ใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส
จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มข ึ้นได้
เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส
เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม
ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
6. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ
(template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ
spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร
ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสี ยหายขึ้น
4.ตอบ -
ควรติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้
และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด เพราะจะทำให้สามารถดักจับและจัดการกับไวรัสตัวใหม่
ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
-
ตั้งค่าระบบป้องกันให้ทำงานทันทีที่เริ่มเปิดคอมพิวเตอร์ใช้งาน
-
อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์ เพราะจะมีไวรัสสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นทุกวัน
-
อย่าดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะอาจได้ไวรัสแถมมาด้วย
แต่หากต้องการดาวน์โหลดจริง ๆ ก็ให้สร้างโฟลเดอร์เฉพาะไว้ต่างหาก
และสแกนหาไวรัสก่อนเปิดใช้งาน
- ควรสแกนแฟตไดร์ก่อนใช้งานทุกครั้ง
เพราะแฟตไดร์เป็นพาหะในการนำข้อมูลจากพีซีเครื่องหนึ่งมาใส่ในอีกเครื่อง
5. ตอบ การปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชน โดยการให้ความรู้ ความเข้าใจ
โดยการใช้ธรรมเข้ามาช่วย
หากคนเรามีธรรมในจิตใจแล้วเทคโนโลยีต่างๆย่อมไม่ก่อให้เกิดผลเสียเด็ดขาด
มีแต่จะทำให้เกิดประโยชน์เพียงด้านเดียว
และธรรมที่ควรมีนั้นก็ไม่มากมาย หากมีธรรมเพียงแค่ 2 ข้อก็เพียงพอแล้ว นั่นก็คือ
การมี หิริ แปลว่า
ความละอายแก่ใจ
มีความละอายเมื่อเราแอบไปขโมยเอาข้อมูลของผู้อื่นมาเป็นของตัวเองหรือเอามาทำเป็นงานของตัวเอง และอีกประการคือ โอตัปปะ
แปลว่า ความเกรงกลัวต่อบาป
เกรงกลัวว่าจะโดนจับหากเราไปทำให้คนอื่นเดือดร้อนโดยวิธีการต่างๆในคอมพิวเตอร์ออนไลน์
หรือว่ากลัวว่าคนอื่นเขาจะเสื่อมเสียเพราะเราไปทำการใดๆที่ทำให้คนอื่นเขาอับอาย
เช่นการไปตัดแต่งรูป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น